ระบบ Face Recognition AI คือ อะไร และดีกว่าระบบ Biometrics แบบอื่นอย่างไร

 

 

ระบบ Face recognition AI คือ อะไร และดีกว่าระบบ Biometrics แบบอื่นอย่างไร

ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของมนุษย์มากยิ่งขึ้น ด้วยการอำนวยความสะดวกสบายและทำให้การใช้ชีวิตนั้นง่ายขึ้น จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่ชื่นชอบเทคโนโลยีใหม่ๆและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในด้านอื่นๆร่วมด้วยได้ ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าระบบ AI Facial recognition จะนำมาใช้ประโยชน์ในอนาคตและรักษาความปลอดภัยในสนามบินได้อย่างไร? และทำไมจึงปลอดภัยกว่าระบบ Biometrics แบบเดิมๆ? เราไปดูพร้อมๆกันเลย

 

ระบบ Face Recognition AI คือ อะไร

Facial Recognition คือ เทคโนโลยีระบบจดจำใบหน้า โดยใช้หลักการการเปรียบเทียบใบหน้าของผู้ใช้กับใบหน้าที่ถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูลที่ได้เคยลงทะเบียนเอาไว้ เพื่อระบุว่าใบหน้าที่กำลังตรวจจับอยู่นั้น ตรงกับบุคคลใดในระบบฐานข้อมูล ในปัจจุบัน เทคโนโลยี Face Recognition นิยมนำมาใช้งานในระบบ Access Control  โดยมีวัตถุประสงค์ในการกำหนดสิทธิ์หรือจำกัดสิทธิ์แก่บุคคลที่จะเข้าถึงพื้นที่ต่างๆ เช่น ถ้าเป็นบุคคลที่ได้ลงทะเบียนไว้ หรือเป็นพนักงานในองค์กร จะได้รับอนุญาตให้เข้าพื้นที่ และในขณะเดียวกันก็ใช้ป้องกันการเข้าถึงพื้นที่สำหรับคนแปลกหน้าอีกด้วย โดยการเทคโนโลยี Facial Recognition  นั้นจะมีทั้งความสะดวก ความรวดเร็วในการตรวจสอบ และเป็นเรื่องยากที่จะทำการปลอมแปลงเพื่อเข้าถึงพื้นที่อีกด้วย

ส่วนระบบ AI หรือ Artificial Intelligence หรือที่ภาษาไทยใช้คำว่า ระบบปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งมาจากการเขียนโปรแกรมและการพัฒนาให้โปรแกรมมีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ วางแผนและตัดสินใจจากการประมวลผลของฐานข้อมูลขนาดใหญ่ได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำการดัดแปลงการประมวลผลและประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์ต่างๆ ด้วยพื้นฐานของ Machine Learning

ปัจจุบันเรานำเทคโนโลยี AI มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเทคโนโลยี Facial Recognition ได้ โดยการใช้  Algorithm เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ใบหน้าจากองค์ประกอบต่างๆ ที่อยู่บนใบหน้า เช่น โครงหน้า ระยะห่างคิ้วหรือดวงตา ความกว้างของจมูกหรือปาก เป็นต้น จากนั้นทำการเชื่อมโยงจุดต่างๆบนใบหน้า เพื่อเปรียบเทียบกับรูปภาพที่ถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูล จึงทำให้การพิสูจน์หาอัตลักษณ์ของบุคคลนั้นมีความแม่นยำมากขึ้นเป็นอย่างมาก แม้ว่าจะมีการแต่งหน้าหรือการสวมใส่อุปกรณ์เสริมต่างๆ ระบบก็ยังสามารถพิสูจน์อัตลักษณ์ของบุคคลนั้นได้อย่างแม่นยำ ต่างจากเทคโนโลยีเดิมที่อาจเกิดข้อผิดพลาดได้ นอกจากเรื่องการประมวลผลที่แม่นยำแล้วอีกหนึ่งจุดเด็นสำคัญของเทคโนโลยี AI Facial Recognition คือความสะดวกสบายและความรวดเร็วในการใช้งาน ซึ่งจุดแข็งนี้เองทำให้เทคโนโลยี AI Facial Recognition แตกต่างจากระบบอื่นๆอย่างเห็นได้ชัด

 

ระบบ Biometrics คืออะไร นำมาใช้ในเรื่องระบบความปลอดภัยอย่างไร

ระบบ Biometrics คือ เทคโนโลยีที่ใช้พิสูจน์อัตลักษณ์ของบุคคล ซึ่งสามารถนำมาใช้ในองค์กรต่างๆ เพื่อใช้กำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงพื้นที่หรือข้อมูลที่สำคัญขององค์กรนั้นๆ โดยสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. การใช้ลักษณะทางกายภาพ (Physiological Biometrics)  เป็นการใช้ส่วนต่างๆของร่างกายในการพิสูจน์ ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น

  • การสแกนลายนิ้วมือ ระบบจะทำการรวบรวมลายนิ้วมือของแต่ละบุคคลและบันทึกอัตลักษณ์ต่างๆ รวมทั้งวิเคราะห์โครงร่าง ขอบ ร่องและจุดเล็กๆบนลายนิ้วมือ
  • การสแกนม่านตา ระบบจะทำการวิเคราะห์ลักษณะม่านตาของแต่ละบุคคลผ่านคอนแทคเลนส์และแว่นตา
  • การตรวจสอบใบหน้าโดยทำการระบุจุดต่างๆบนใบหน้าเพื่อค้นหาอัตลักษณ์ใบหน้าส่วนบุคคล

2. การใช้ลักษณะทางพฤติกรรม (Behavioral Biometrics) เช่น การใช้เลขรหัส การเซ็นชื่อ การใช้เสียง เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าหลายๆ วิธีของเทคโนโลยี Biometrics นั้นมีความปลอดภัยในระดับที่แตกต่างกัน มีตั้งแต่ความปลอดภัยต่ำไปถึงความปลอดภัยสูงและความสะดวกสบายในการใช้งานในระบบที่มีความปลอดภัยสูงจะค่อนข้างยุ่งยากมากอีกด้วย

 

 

ทำไม Face Recognition AI ถึงดีกว่า Biometrics

ถึงแม้ว่าระบบ Biometrics โดยทั่วไปจะมีความน่าเชื่อถือในด้านของการตรวจสอบความถูกต้องทางกายภาพก็จริง แต่ก็อย่าลืมว่าในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถทำการหลอกระบบ Biometrics ได้ โดยจะยกตัวอย่างให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนขึ้น เช่น ระบบการใช้เลขรหัสเพื่อเข้าใช้พื้นที่หรือเข้าถึงข้อมูล วิธีการใช้เลขรหัสนั้นยังคงนิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แต่วิธีนี้เป็นวิธีที่ถูกลอกเลียนได้ง่ายมากเพียงแค่บุคคลอื่นรู้เลขรหัสก็สามารถทำการปลอมแปลงการเข้าใช้ได้ทันที

ในส่วนของเทคโนโลยี Biometrics ที่ปลอมแปลงได้ยาก เช่น การสแกนลายนิ้วมือหรือม่านตา ถึงแม้ว่าวิธีการนี้จะถูกปลอมแปลงได้ยากขึ้น แต่ก็ยังสามารถปลอมแปลงได้อยู่ดี เช่น การคัดลอกสำเนาลายนิ้วมือลงบนพลาสติกแล้วนำมาสแกน

นอกจากนี้การใช้งานจริงของ 2 วิธีนี้ค่อนข้างที่จะยุ่งยากและใช้เวลานาน ตัวอย่างเช่นปัญหาที่พบบ่อยในการใช้การสแกนนิ้ว คือ การที่สแกนไม่ติด อาจเกิดจากหลากหลายเงื่อนไขที่จะสามารถทำให้สแกนไม่ผ่าน เช่น เมื่อนิ้วมือผู้ใช้เปียก หรือผู้ใช้งานบางคนนิ้วมือลอก เป็นต้น ด้วยสาเหตุเหล่านี้มีผลทำให้การประมวลผลผิดพลาดได้อย่างง่าย และทำให้ผลลัพธ์นั้นคลาดเคลื่อนไป และเนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของโรค โควิด 19 ในปัจจุบันนั้น เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในที่ชี้ให้เห็นว่าเทคโนโลยีการสแกนนิ้วนั้นมีข้อบกพร่องในแง่ของการใช้งานที่ผู้ใช้งานทุกคนต้องสัมผัสกับอุปกรณ์ และอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการแพร่กระจายได้ง่ายอีกด้วย

 

ขอบคุณที่มา: 4vsys.com

Share to everyone